พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระหูยานลพบุรี ...
พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่(ซ่อม) กรุวัดพระศรีมหาธาตุ
เปิดพระหูยานลพบุรี(ซ่อม) (โทร)วี 0813116011
(ข้อความ)id 0818306399 www.makara.99wat.com
สภาพพอน่ารัก พระมีซ่อมคอ ได้แท้ดูง่าย ธรรมชาติดี
"เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ "พระหูยาน จ.ลพบุรี" ด้วยพุทธลักษณะอันงดงามสง่า แฝงด้วยความเข้มขลัง และพุทธคุณเป็นเลิศโดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

พระหูยาน ลพบุรี เป็นพระเนื้อชิน มีทั้งชินเงินและชินตะกั่ว แต่ชินตะกั่วมีน้อยมาก มีอายุยาวนานกว่า 700 ปี สร้างเมื่อสมัยขอมเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "พระหูยาน ลพบุรี"

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆ อีก เช่น กรุวัดอินทาราม, กรุวัดปืน, กรุวัดราษฎร์บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี, กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมืองสรรค์ เป็นต้น

พุทธศิลปะองค์พระเป็นแบบ "อู่ทอง" คล้าย เขมรบายน องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนกลีบบัวเล็บช้าง แบบชั้นเดียวและสองชั้น (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ปลียอดพระเกศเป็นบัวตูมแย้มๆ มองดูเป็นสองชั้นก่อนถึงพระศก ซึ่งตั้งขึ้นเป็นแถวแบบผมหวี

พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง พระโอษฐ์แบะ แลดูเคร่งขรึม แสดงถึงญาณอันแก่กล้า อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะขอม พระกรรณยาวจดพระอังสา จึงขนานนามว่า "พระหูยาน"

สำหรับพิมพ์ด้านหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นหลังกระสอบ อาจสืบเนื่องจากองค์พระเป็นเนื้อโลหะ เวลาเทคงจะใช้ผ้ากระสอบกดทับเพื่อให้ติดแม่พิมพ์ดียิ่งขึ้น จึงเห็นเป็น "รอยผ้ากระสอบ" ซึ่งจะมีลักษณะเป็นช่องห่างๆ อันเป็นข้อสังเกตประการหนึ่ง แบบหลังเรียบและหลังตันก็มี แต่น้อยมาก
สามารถแบ่งแยกเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก โดยพิมพ์ใหญ่จะมีความสูงประมาณ 5.5 ซ.ม. ส่วนพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา
นอกจากนี้ยังได้กำหนดศิลปะของพระหูยานลพบุรีไว้เป็น 2 แบบ คือ พระหูยานหน้ายักษ์ และ พระหูยานหน้ามงคล

โดย "พิมพ์หน้ายักษ์" พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ปรากฏพระขนง พระเนตร และพระโอษฐ์ ซึ่งจะลึกกว่าและแบะกว้าง ส่วน "พิมพ์หน้ามงคล" พระพักตร์จะมนกว่า และพระโอษฐ์แคบกว่าเล็กน้อย
ซึ่งโบราณาจารย์ได้ให้ข้อชี้แนะไว้ว่า "พิมพ์หน้ายักษ์" จะเป็นพระหูยาน พิมพ์ใหญ่ และ "พิมพ์หน้ามงคล" ก็คือ พระหูยาน พิมพ์กลาง ส่วนพิมพ์เล็กไม่มีการพูดถึงไว้

พระหูยาน ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ

ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน

พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับพระพุทธรูปบูชา ซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิมจะเป็นสีเขียว แล้วลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย ซึ่งกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินใช้ประกอบในการพิจารณา

แต่ไม่ว่าจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุใดๆ ก็ตาม ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศตามแบบฉบับของขอม สมเป็น 1 ใน 5 แห่งพระยอดขุนพลเนื้อชินที่เป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ ขอเตือนไว้ว่า ของทำเทียมมีมากมายมาแต่อดีต ต้องพิจารณากันให้ดี แต่ให้ดีที่สุดควรขอคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้ครับผม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คอลัมน์พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์ www.arjanram.com

ความเชื่อ พุทธคุณเรื่อง มหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
ผู้เข้าชม
14791 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
termboonchaithawatปลั๊ก ปทุมธานีชยันโตเอตลาดพลูjocho
โกหมูบอลปราจีนอ้วนโนนสูงเจริญสุขeobeobทองธนบุรี
chaokohnengggghoppermanเทพจิระอมรทรัพย์พระเครื่องบ้านพระหลักร้อย
art1เปียโนMannan4747จ่าดี พระกรุaonsamuiแมวดำ99
มัญจาคีรี udBAINGERNchathanumaanvanglannaเสน่ห์พระเครื่องmon37

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1219 คน

เพิ่มข้อมูล

พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่(ซ่อม) กรุวัดพระศรีมหาธาตุ




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่(ซ่อม) กรุวัดพระศรีมหาธาตุ
รายละเอียด
เปิดพระหูยานลพบุรี(ซ่อม) (โทร)วี 0813116011
(ข้อความ)id 0818306399 www.makara.99wat.com
สภาพพอน่ารัก พระมีซ่อมคอ ได้แท้ดูง่าย ธรรมชาติดี
"เบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน" คือ "พระหูยาน จ.ลพบุรี" ด้วยพุทธลักษณะอันงดงามสง่า แฝงด้วยความเข้มขลัง และพุทธคุณเป็นเลิศโดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี

พระหูยาน ลพบุรี เป็นพระเนื้อชิน มีทั้งชินเงินและชินตะกั่ว แต่ชินตะกั่วมีน้อยมาก มีอายุยาวนานกว่า 700 ปี สร้างเมื่อสมัยขอมเรืองอำนาจในแผ่นดินพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มีการขุดค้นพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เป็นหลัก จึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "พระหูยาน ลพบุรี"

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏที่กรุอื่นๆ อีก เช่น กรุวัดอินทาราม, กรุวัดปืน, กรุวัดราษฎร์บูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี, กรุวัดค้างคาว จ.เพชรบุรี และพระหูยานเมืองสรรค์ เป็นต้น

พุทธศิลปะองค์พระเป็นแบบ "อู่ทอง" คล้าย เขมรบายน องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนกลีบบัวเล็บช้าง แบบชั้นเดียวและสองชั้น (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ปลียอดพระเกศเป็นบัวตูมแย้มๆ มองดูเป็นสองชั้นก่อนถึงพระศก ซึ่งตั้งขึ้นเป็นแถวแบบผมหวี

พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง พระโอษฐ์แบะ แลดูเคร่งขรึม แสดงถึงญาณอันแก่กล้า อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะขอม พระกรรณยาวจดพระอังสา จึงขนานนามว่า "พระหูยาน"

สำหรับพิมพ์ด้านหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นหลังกระสอบ อาจสืบเนื่องจากองค์พระเป็นเนื้อโลหะ เวลาเทคงจะใช้ผ้ากระสอบกดทับเพื่อให้ติดแม่พิมพ์ดียิ่งขึ้น จึงเห็นเป็น "รอยผ้ากระสอบ" ซึ่งจะมีลักษณะเป็นช่องห่างๆ อันเป็นข้อสังเกตประการหนึ่ง แบบหลังเรียบและหลังตันก็มี แต่น้อยมาก
สามารถแบ่งแยกเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก โดยพิมพ์ใหญ่จะมีความสูงประมาณ 5.5 ซ.ม. ส่วนพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กจะมีขนาดลดหลั่นกันลงมา
นอกจากนี้ยังได้กำหนดศิลปะของพระหูยานลพบุรีไว้เป็น 2 แบบ คือ พระหูยานหน้ายักษ์ และ พระหูยานหน้ามงคล

โดย "พิมพ์หน้ายักษ์" พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ปรากฏพระขนง พระเนตร และพระโอษฐ์ ซึ่งจะลึกกว่าและแบะกว้าง ส่วน "พิมพ์หน้ามงคล" พระพักตร์จะมนกว่า และพระโอษฐ์แคบกว่าเล็กน้อย
ซึ่งโบราณาจารย์ได้ให้ข้อชี้แนะไว้ว่า "พิมพ์หน้ายักษ์" จะเป็นพระหูยาน พิมพ์ใหญ่ และ "พิมพ์หน้ามงคล" ก็คือ พระหูยาน พิมพ์กลาง ส่วนพิมพ์เล็กไม่มีการพูดถึงไว้

พระหูยาน ลพบุรี มีการแตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2450 ที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี เราเรียกว่า "พระกรุเก่า" ผิวจะปลอดจากคราบผิวปรอทขาวโพลน มีขุมสนิมกัดกินลึกในเนื้อ มีรอยระเบิดแตกปริ

ต่อมาได้มีการขุดค้นอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 ก็แตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมากที่บริเวณพระเจดีย์องค์เล็กหน้าพระปรางค์ จึงให้ชื่อว่า "พระกรุใหม่" ส่วนมากจะมีพรายปรอทขาวซีดๆ ทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์งดงามมาก มีเพียงบางองค์ที่มีรอยแตกปริและขุมสนิมบางส่วน

พระกรุใหม่บางส่วนถูกฝังรวมไว้กับพระพุทธรูปบูชา ซึ่งเมื่อเวลาเกิดคราบสนิมจะเป็นสีเขียว แล้วลุกลามไปติดเป็นคราบสนิมของพระหูยานกรุใหม่ด้วย ซึ่งกลายเป็นตำหนิสำคัญที่นักเลงพระเครื่องเนื้อชินใช้ประกอบในการพิจารณา

แต่ไม่ว่าจะกรุเก่า กรุใหม่ หรือกรุใดๆ ก็ตาม ล้วนทรงพุทธคุณเป็นเลิศตามแบบฉบับของขอม สมเป็น 1 ใน 5 แห่งพระยอดขุนพลเนื้อชินที่เป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ ขอเตือนไว้ว่า ของทำเทียมมีมากมายมาแต่อดีต ต้องพิจารณากันให้ดี แต่ให้ดีที่สุดควรขอคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญที่ไว้ใจได้ครับผม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คอลัมน์พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์ www.arjanram.com

ความเชื่อ พุทธคุณเรื่อง มหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
14792 ครั้ง
สถานะ
บูชาแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี